UFABETWINS

UFABETWINS ดีแต่ป้อ ล่อไม่เป็น : ฤๅ Financial Fair Play จะถึงกาลอวสาน หลัง แมนฯ ซิตี้ ชนะ ยูฟ่า?

UFABETWINS ไม่มีประเด็นไหน จะเป็นประเด็นร้อน ในวงการฟุตบอลยุโรป มากไปกว่าการรอดถูกแบน จากการแข่งขันฟุตบอลยุโรป 2 ปี

ของสโมสร แมนเชสเตอร์ ซิตี้ หลังจากทีมเรือใบสีฟ้า ถูกลงโทษจากยูฟ่า ฐานทำผิดกฎการเงิน หรือ FFP การรอดตัวของ แมนฯ ซิตี้ สร้างข้อถกเถียงมากมาย หนึ่งในนั้นคือความเห็นที่ตรงกันของหลายฝ่าย ทั้งนักข่าว และ แฟนบอล ว่าเหตุการณ์ในครั้งนี้ คือจุดจบของกฎ FFP ที่ยูฟ่าพยายามบังคับใช้ ทำให้มีอำนาจในวงการฟุตบอลยุโรป ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา Main Stand จะไปย้อนดูเรื่องราวทั้งหมดของ FFP ตั้งแต่วันที่กฎนี้เริ่มก่อตั้ง จนถึงวันที่ล้มเหลว

ไม่สามารถลงโทษสโมสร แมนฯ ซิตี้, เหตุใดองค์กรที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ในฟุตบอลยุโรปจึงเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ และท้ายที่สุด อนาคตของกฎนี้ จะเป็นเช่นไรต่อไป FFP คืออะไร? FFP หรือ UEFA Financial Fair Play Regulations ที่แฟนฟุตบอลไทยคุ้นเคยกันในชื่อ “กฎการเงิน” คือกฎที่ถูกสร้างขึ้นมา ในเดือนกันยายน ปี 2009 เพื่อใช้ตรวจสอบการใช้เงินของสโมสรฟุตบอล ไม่ให้สโมสรฟุตบอลทุ่มเงินจนเกินตัว จนเกิดความเสี่ยงที่สโมสรใช้เงินจนเป็นหนี้ และอาจนำมาซึ่งภาวะล้มละลาย

ของสโมสร ยูฟ่าได้ให้เหตุผลชัดเจน ในปี 2009 ที่ย้อนไปในช่วงเวลานั้น มีการเทคโอเวอร์สโมสรมากมาย โดยกลุ่มเศรษฐี เข้ามาเป็นเจ้าของสโมสรฟุตบอล และคนเหล่านี้ใช้เงินกับทีมฟุตบอลจนเกินตัว สร้างหนี้จำนวนมาก ให้กับสโมสร จนยูฟ่าเสนอตัว เข้ามาเป็นคนกลาง หวังแก้ไขวิกฤติที่เกิดขึ้น เพื่อไม่ให้วงการฟุตบอล ได้รับผลกระทบ “สโมสรฟุตบอลครึ่งหนึ่ง ในยุโรปกำลังขาดทุน และมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เราต้องหยุดสิ่งที่เกิดขึ้น สโมสรฟุตบอลมีรายจ่ายมากกว่ารายรับ

และไม่มีเงินไปใช้หนี้ กฎ FFP ไม่ใช่สิ่งที่จะมาทำร้ายสโมสร แต่เป็นสิ่งที่จะมาช่วยพวกเขา” มิเชล พลาตินี อดีตประธานของยูฟ่า กล่าวในปี 2009 ในความเป็นจริงแล้ว กฎ FFP ถูกต่อต้านอย่างมาก จากสโมสรฟุตบอลในอังกฤษ, อิตาลี และ สเปน เพราะพวกเขามองว่า การใช้เงินเกินตัวของสโมสรฟุตบอล คือเรื่องธรรมชาติในการทำทีมฟุตบอล … อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางการสนับสนุน ของสโมสรฟุตบอลเยอรมัน และข้อเท็จจริงที่ สโมสรฟุตบอลจำนวนมาก ในอังกฤษ, อิตาลี, สเปน

มีหนี้สิ้นท่วมตัวอยู่ กฎ FFP จึงเกิดขึ้นมาในที่สุด อย่างไรก็ตาม กว่ากฎ FFP จะได้เริ่มใช้งานจริง ต้องเลื่อนไปในฤดูกาล 2010-11 เพราะตลอดฤดูกาล 2009-10 ยูฟ่าต้องพบว่า กฎการเงินที่พวกเขาสร้างขึ้นมา ที่ต้องการให้สโมสรมีผลกำไร มีเงินหมุนเวียนในสโมสรเป็นบวกตลอดเวลา แทบเป็นไปไม่ได้ กับแนวทางการทำทีมฟุตบอลในช่วงเวลานั้น ยกตัวอย่าง เช่น แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ในปี 2010 สโมสรแห่งนี้มีหนี้สะสมอยู่ถึง 716 ล้านปอนด์ ซึ่งหากกฎ FFP มีการบังคับใช้จริง

อย่างเข้มงวดในช่วงเวลานั้น สโมสรฟุตบอลแห่งนี้ อาจจะไม่ได้ไปฟุตบอลยุโรปตลอดกาล จากการตัวเลขการเงิน ที่แสดงอยู่ในบัญชี หากแต่ในความเป็นจริงแล้ว แม้ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด จะมีหนี้สะสมมหาศาล แต่พวกเขาไม่ได้ใกล้เคียงกับสภาวะไม่มั่นคงทางการเงิน หรือความเสี่ยงที่จะล้มละลายแม้แต่น้อย ดังนั้น ตั้งแต่กฎ FFP ยังไม่ทันจะได้เริ่มใช้ เราเริ่มเห็นความย้อนแย้งของกฎตั้งแต่แรกแล้วว่า ในเมื่อสโมสรฟุตบอลอย่างเช่น แมนฯ ยูไนเต็ด อาจจะมีหนี้ ตัวเลขสีแดงทางการ

เงิน แต่ถ้ามองทรัพย์สินของสโมสร หรือ เงินหนุนหลังของทีม พวกเขาไม่มีทางล้มละลาย ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญที่กฎ FFP ถูกตั้งขึ้นมาป้องกันอย่างแน่นอน เดวิด กิลล์ อดีตผู้บริหารของทัพปีศาจแดง ในเวลานั้น เคยตั้งข้อสงสัยกับกฎ FFP ว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา แมนฯ ยูไนเต็ด ดำเนินธุรกิจอย่างมั่นคงมาโดยตลอด ต่อให้เป็นหนี้ตัวแดงติดลบในบัญชี และเขาไม่เห็นว่าทีมจะมีปัญหาอะไร อย่างไรก็ตาม ทีมไม่มีปัญหา ที่จะให้กฎ FFP เข้ามามีบทบาทในโลกฟุตบอล

กฎแห่งความไม่จริงใจ FFP คือกฎที่มีเจตนา มีเป้าประสงค์ที่ดี กับการไม่อนุญาตให้สโมสรฟุตบอล มีรายจ่ายมากกว่ารายรับ เพื่อรักษาสถานะของสโมสร แต่หลังจากผ่านไป 10 ฤดูกาล เราเห็นชัดเจนว่า FFP คือกฎที่ล้มเหลว ซึ่งไม่ได้เป็นเพราะใคร นอกจากผู้บังคับใช้กฎอย่าง ยูฟ่า ในช่วงแรกเริ่มของการใช้กฎ FFP เช่น ในฤดูกาล 2010-11 มีหลายสโมสรที่ทำผิดกฎ FFP อย่างชัดเจน เช่นเชลซี ที่สร้างชื่อในช่วงเดือนมกราคม ปี 2011 ด้วยการประกาศว่าสโมสรขาดทุน 70 ล้านปอนด์

หลังจากนั้นในวันเดียวกัน ได้ประกาศ ซื้อตัว เฟร์นานโด ตอร์เรส เสียเงินเพิ่มอีก 50 ล้านปอนด์ ไม่ต้องสงสัยเลยว่า เชลซีใช้เงินในการบริหารสโมสร มากกว่ารายรับของทีมแน่นอน และไม่ใช่เรื่องยากอะไร หากยูฟ่าจะลงโทษเชลซี เป็นการเชือดไก่ให้ลิงดู ถึงความเข้มงวดของกฎ FFP แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ยูฟ่า ไม่ทำอะไรเลย ไม่แม้แต่จะสอบสวนการใช้เงินของ เชลซี ด้วยซ้ำ พร้อมกับให้เหตุผลว่า ครั้งนี้ปล่อยไปก่อน รอบหน้าจะเอาจริงแน่ เริ่มต้นแค่ปีแรก ปัญหาของ FFP

เกิดขึ้นมาอย่างชัดเจน และนำไปสู่การแบ่งแยกของโลกฟุตบอล ซึ่งไม่เป็นผลดี ของกฎ FFP แม้แต่น้อย … ไม่ว่าจะเป็นตัวแทนของฝั่งทีมคนรวย เช่น สโมสร เชลซี ที่ออกมาโจมตีความไร้สาระของกฎ FFP ด้วยการประกาศว่า ต่อให้ทีมใช้เงินเยอะแค่ไหน สโมสรไม่มีทางล้มแน่นอน (เพราะมีเงินของเจ้าของทีมสนับสนุนอยู่) ดังนั้นกฎ FFP ไร้ประโยชน์สิ้นดี ขณะที่สโมสรที่ไม่ได้เป็นทีมเงินถุงเงินถัง ได้ออกมาโจมตีกฎ FFP เช่นกัน เช่น เอซี มิลาน ที่ออกมาโจมตีว่า

UFABETWINS

สโมสรฟุตบอลจากอังกฤษ ใช้เงินเกินรายรับแบบชัดเจน ทำไม ยูฟ่า ถึงนิ่งเฉย ไม่ทำอะไรสักอย่างเดียว แล้วจะมีกฎ FFP ไว้ทำไม?

หลังจากโดนด่าจากสโมสรฟุตบอลทั่วสารทิศ ยูฟ่า ได้ประกาศว่า ในฤดูกาล 2011-12 ว่า ในสองฤดูกาลข้างหน้า สโมสรฟุตบอลยุโรปห้ามขาดทุนเกิน 45 ล้านยูโร ไม่เช่นนั้นจะถูกลงโทษ ยกเว้นเจ้าของสโมสรสามารถใช้หนี้ที่ขาดทุนเกินมาได้ จะยกเว้นให้เป็นกรณีพิเศษ (ปัจจุบันกฎไม่ได้บอกตัวเลขชัดเจน แค่บอกว่าห้ามขาดทุน และจะพิจารณาเป็นกรณี) นอกจากนี้ยูฟ่า ต้องการให้สโมสรฟุตบอล แสดงบัญชีรายรับ-รายจ่ายที่ชัดเจนตรงไปตรงมา

มีการใช้เงินอย่างเป็นเหตุเป็นผล และการใช้เงินเพื่อผลประโยชน์ของสโมสรเท่านั้น แต่กฎตรงนี้ก็เขียนไว้แบบกว้างๆ ไม่ได้ระบุชัดเจนว่าสโมสรต้องทำอย่างไร และถ้าทำผิดสโมสรจะถูกลงโทษหรือไม่? มิหนำซ้ำ ยูฟ่ายังตั้งคณะกรรมการของตัวเองขึ้นมา ในชื่อ The Club Financial Control Body หรือ CFCB เพื่อพิจารณาโทษของสโมสร ซึ่งการลงโทษหรือไม่ลงโทษ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของ CFCB รวมถึงโทษที่จะใช้ลงโทษ ก็ขึ้นอยู่กับ CFCB เช่นกัน ในช่วงแรกเริ่ม

แม้จะมีความตั้งใจถึงการนำ กฎ FFP เข้ามาใช้อย่างจริงจัง มีการสนับสนุนจากฟุตบอลลีก, สโมสรฟุตบอลบางทีม รวมถึงองค์กรทางการเมือง แต่สุดท้ายยูฟ่าต้องมาตกม้าตาย ที่การลงโทษของสโมสรอยู่ร่ำไป มีหลายสโมสรมากมาย ที่ทำผิดกฎการเงิน ในช่วงปี 2011 ถึง 2013 เช่น แมนเชสเตอร์ ซิตี้, เชลซี, ลิเวอร์พูล, เอซี มิลาน, มาลาก้า, ปารีส แซงต์ แชร์กแมง แต่สุดท้ายยูฟ่า ทำเป็นไม่รู้ ไม่เห็น โดยอ้างว่าต้องให้เวลาสโมสรเหล่านี้ ปรับพฤติกรรมการใช้เงินของสโมสร

ท้ายที่สุด ในฤดูกาล 2013-14 ยูฟ่าหวังอย่างจริงจัง ที่จะใช้กฎการเงิน ประกาศศักดา ด้วยการลงโทษ 2 สโมสรยักษ์ใหญ่ อย่าง แมนเชสเตอร์ ซิตี้ และ เปแอสเช แต่วิธีที่ยูฟ่าใช้ลงโทษ คือการปรับเงินทั้งสองทีม ทีมละ 60 ล้านยูโร เข้ากระเป๋าตัวเอง แทนที่จะใช้วิธีแบนการซื้อขาย หรือ ควบคุมการใช้จ่ายของทีมอย่างจริงจัง การเลือกปรับเงินก้อนโต หารายได้เข้าสู่องค์กร ยิ่งทำให้กฎ FFP เสียหาย และถูกมองจากวงการฟุตบอล ว่าเป็นเครื่องมือใช้หากินของยูฟ่า

มากกว่ากฎที่ยูฟ่า ต้องการนำมาพัฒนาวงการฟุตบอลอย่างจริงจัง เครื่องมือทางการเมือง เมื่อมีเสียงก่นด่าเข้ามากๆ (อีกแล้ว) ยูฟ่าจึงคิดจะปรับตัวกับกฎ FFP อีกครั้ง โดยคราวนี้ หวังใช้กฎ FFP ลงโทษสโมสรฟุตบอลอย่างจริงจัง ด้วยการแบนสโมสรฟุตบอลที่ทำผิดกฎ ด้วยการแบนไม่ให้ไปเล่นฟุตบอลยุโรป อันเป็นเป้าหมาย และเป็นช่องทางหารายได้ของสโมสรฟุตบอล อย่างไรก็ตาม ยูฟ่ากลับมีผลงานชิ้นโบว์แดง ในการแบนสโมสรฟุตบอลจากถ้วยยุโรป

แค่การแบนสโมสร เอซี มิลาน ไม่ให้ไปเตะฟุตบอล ยูฟ่า ยูโรปา ลีก ในฤดูกาล 2019-20 ที่เหลือจัดได้ว่าล้มเหลว ดังเช่นการ ไม่สามารถแบน แมนเชสเตอร์ ซิตี้ ไม่ให้ไปเล่นฟุตบอลยุโรป ใน 2 ฤดูกาลหน้า ตามที่ ยูฟ่า ต้องการ หากจะถามว่า เหตุใดการพยายามใช้กฎ FFP เข้ามาลงโทษสโมสรอย่างจริงจัง ของ ยูฟ่า กลับไม่ได้ผล คำตอบเป็นเพราะ ตัวยูฟ่าเอง ไม่บังคับใช้กฎการลงโทษอย่างเข้มงวดตั้งแต่แรก กรณีของ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ ยูฟ่า ให้เหตุผลว่า แมนฯ ซิตี้ มีความผิด

ฐานพยายามปกปิดและปรับแต่งบัญชีทางการเงิน ในช่วงปี 2012-2016 ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นอย่างน้อย เมื่อ 4-8 ปีที่แล้ว แต่ ยูฟ่า กลับมาลงโทษ แมนฯ ซิตี้ ในปี 2020 ซึ่งเป็นการลงโทษ ที่ไม่สมเหตุสมผล เพราะช้ากว่าการลงโทษ ที่ควรจะเกิดขึ้นจริง ไปหลายปีทีเดียว เนื่องจากก่อนหน้านี้ ยูฟ่า เอาแต่ปล่อยปะละเลย ไม่ยอมลงโทษอย่างจริงจัง เมื่อเรื่องเข้าสู่ ศาลกีฬาโลก หรือ CAS จึงเป็นเรื่องง่ายที่จะถูกกลับคำตัดสิน เนื่องจากศาลมองว่า เหตุผลที่ ยูฟ่า ใช้ลงโทษ แมนฯ ซิตี้

เป็นเรื่องราวที่นานเกินกว่า 5 ปี ซึ่งศาลกีฬาโลกมองว่านานเกินไป ที่จะนำมาใช้เป็นข้ออ้าง ในการตัดสินโทษผิด ให้กับสโมสรฟุตบอล ไม่นับรวมกับว่า เมื่อขึ้นสู่ชั้นศาล ยูฟ่า ไม่สามารถหาหลักฐานที่ชัดเจน ซึ่งหลักฐานที่ ยูฟ่า ได้มา พวกเขาได้มาจาก Der Spiegel สื่อเยอรมัน ที่ได้จากการขโมยข้อมูลของสโมสร แมนฯ ซิตี้ โดย รุย ปินโต เจ้าของเว็บไซต์ Football Leaks มาอีกที แม้ข้อมูลจะชวนตาลุก แต่เมื่อได้มาด้วยวิธีการสายมืด ความน่าเชื่อถือก็ลดลงโดยปริยาย

ดังนั้นไม่ว่า แมนฯ ซิตี้ จะมีความผิดจริงหรือไม่ แต่ถ้า ยูฟ่า ไม่สามารถหาหลักฐานที่มีน้ำหนักมากพอ มากางให้ศาลกีฬาโลกเห็นได้ว่า แมนฯ ซิตี้ ทำผิดจริง ยูฟ่า จึงต้องเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ไปตามระเบียบ ข้อถกเถียงมากมายเกิดขึ้น หลังจากความฝ่ายแพ้ของ ยูฟ่า บางส่วนได้มองว่า แมนฯ ซิตี้ ใช้ช่องว่างของกฎ รวมถึงเม็ดเงิน ในการจ้างทนายระดับโลก มาเอาตัวรอด ทั้งที่มีความผิด หรือจะเป็นฝ่ายที่โจมตี ยูฟ่า ว่า เคสนี้ คือกรณีที่ชัดเจนว่า กฎ FFP เป็นที่เขียนขึ้นมาขู่เฉยๆ

แต่ไม่มีประสิทธิภาพ ในการใช้งานจริง ไซมอน สโตนส์ นักข่าวของ BBC ออกมาแสดงความเห็น ได้อย่างน่าสนใจว่า ต้องยอมรับว่า เหตุผลที่ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ โดนลงโทษจาก ยูฟ่า เป็นเพราะว่า ยูฟ่า เพียงแค่ต้องการเชือดไก่ให้ลิงดู และพวกเขาตัดสินใจเลือกจิ้ม แมนเชสเตอร์ ซิตี้ มาเป็นผู้รับเคราะห์ ไม่ว่าทีมเรือใบสีฟ้า จะผิดจริงหรือไม่ก็ตาม ทว่า สุดท้ายแล้ว ปัญหาสำคัญที่สุดของกฎ FFP คือการใช้กฎนี้ของ ยูฟ่า ไม่เคยมีความโปร่งใส มาตั้งแต่ไหนแต่ไร

ไม่ว่าจะเป็นการเลือกลงโทษสโมสร ความผิดที่ใช้ลงโทษสโมสร รวมถึงวิธีที่จะใช้ลงโทษ ตามอำเภอใจของ ยูฟ่า ผ่านคณะกรรมการ CFCB โดยไม่มีกฎที่แน่นอนตายตัวชัดเจน ทั้งในเรื่องบทการลงโทษ รวมถึงกฎที่ดูยืดหยุ่นได้ จนกลายเป็นช่องว่าง ที่จะเอาตัวรอดจากการลงโทษ ทั้งในมุมของ ยูฟ่า และสโมสรฟุตบอล ท้ายที่สุด กฎ FFP จึงล้มเหลวในแง่ของการสร้างความเชื่อมั่น ให้กับคนในวงการฟุตบอล และกลายเป็นกฎที่มีอำนาจ แค่บนหน้ากระดาษเท่านั้น ร็อบ วิลสัน

อาจารย์ด้านการเงินของกีฬาฟุตบอล ชาวอังกฤษ ออกมาให้ความเห็นในทำนองเดียวกันว่า เหตุผลที่ ยูฟ่า พยายามใช้กฎ FFP ลงโทษ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ เพราะ ยูฟ่า รู้สึกเสียหน้ามาตลอด หลังจากผ่านไป 10 กฎ FFP ไม่สามารถสร้างผลกระทบจริงจัง ให้กับวงการฟุตบอลได้เลย “พวกเขามีความต้องการ ที่จะทำให้ทุกคนเชื่อว่า FFP คือกฎที่จริงจัง บังคับใช้จริง และเป็นประโยชน์ต่อวงการฟุตบอล แน่นอนเราพูดได้ว่า สิ่งที่แมนฯ ซิตี้ทำ ได้ฝ่าฝืนกฎบางประการ”

“แต่สุดท้าย กฎ FFP ของยูฟ่า มีอำนาจใช้จริง น้อยกว่าที่ควรจะเป็นไหม? แน่นอนครับ สโมสรฟุตบอลระดับชั้นนำ สามารถที่จะท้าทาย การใช้อำนาจของกฎ และหาช่องว่างจากกฎได้” วิลสันแสดงความเห็น การลงโทษสโมสร แมนเชสเตอร์ ซิตี้ ของยูฟ่า จึงเป็นเหมือนการลงโทษแบบ “ถูกที่ ผิดเวลา” ท้ายที่สุด เมื่อกฎ FFP ถูกใช้กับการเป็นเครื่องมือ หวังจะแสดงอำนาจของ ยูฟ่า มากกว่าที่จะใช้ลงโทษสโมสรฟุตบอล จึงเป็นอีกครั้งที่กฎ FFP กลายเป็นเครื่องมือ

สะท้อนความล้มเหลวขององค์กรอย่างยูฟ่า อนาคตของ FFP หากจะถามว่า กฎ FFP ล้มเหลวไหม กับการทำหน้าที่ของตัวเอง คำตอบคือไม่ … FFP มีบทบาทอย่างมาก ในการเข้ามาช่วยควบคุมการใช้เงินเกินตัว กับ สโมสรฟุตบอลขนาดเล็ก ไม่ว่าจะเป็น เฟเนร์บาห์เช, เบซิคตัส หรือ แทร็ปซอนสปอร์ จากตุรกี รวมถึงหลายสโมสรจากรัสเซีย, โครเอเชีย, คาซัคสถาน, กรีซ รวมถึงทีมขนาดเล็กในประเทศอังกฤษ สโมสรเหล่านี้ ไม่ได้มีเงินมาก แต่พวกเขาใช้เงินจนเกินตัว

UFABETWINS

เพื่อหวังล่าความสำเร็จในโลกฟุตบอล จนนำไปสู่ปัญหาทางการเงินของสโมสร ซึ่งเป็นไปตามจุดประสงค์ที่ FFP เกิดขึ้นมา เพื่อป้องกันสิ่งเหล่านี้ ดังนั้น กฎ FFP คงจะไม่ล้มเหลว หรือถึงจุดจบอย่างแน่นอน เพราะสุดท้าย กฎ FFP ยังคงต้องมีอยู่ เพื่อช่วยกำกับดูแล สโมสรฟุตบอลเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม อนาคตของ กฎ FFP ในแง่ของอำนาจ การบังคับใช้จริง ยังคงเป็นที่ถกเถียง และ ตั้งคำถาม จากความล้มเหลว ที่จะบังคับใช้ลงโทษ สโมสรฟุตบอลแถวหน้า …

เว็บไซต์ DW จากเยอรมัน แสดงความเห็นว่า หลังจากนี้กฎ FFP คงไม่สามารถนำมาใช้ลงโทษ สโมสรระดับแถวหน้าได้อีกแล้ว เพราะจากกรณีของ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า ยูฟ่า ไม่มีอำนาจมากพอ ที่ใช้กฎนี้ได้ดีอย่างที่ควรจะเป็น นอกจากนี้ DW มองว่า FFP จะมีหรือไม่มีก็ได้ในอนาคต เพราะ ยูฟ่า ไม่ได้แสดงถึงความจริงใจ ที่จะต้องการให้กีฬาฟุตบอล แข่งขันโดยปราศจากเรื่องของเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง อีกทั้ง ยูฟ่า ยังคงปล่อยให้สโมสรฟุตบอลมีการเปลี่ยน

เจ้าของ ไปสู่มือของเศรษฐีทั่วโลกอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น จะมีกฎ FFP ไว้เพื่อควบคุมการเงินของสโมสรทำไม หากสโมสรยังคงอยู่ในมือมหาเศรษฐีพันล้าน ที่ต้องการเข้ามาใช้เงินมือเติบ กับสโมสรฟุตบอลตั้งแต่แรก สตีเฟน ฮีธ ทนายความด้านกีฬา แสดงความเห็นผ่าน BBC ว่า กฎ FFP ควรจะคงอยู่ต่อไป เพราะการควบคุมทางการเงิน คือเรื่องสำคัญในโลกฟุตบอลปัจจุบัน … อย่างไรก็ตาม ยูฟ่า ควรจะมาวางแผนให้ดีว่า ในอนาคต พวกเขาจะใช้งาน FFP อย่างไรให้มี

ประสิทธิภาพมากกว่านี้ โดยสิ่งที่ ฮีธ มองว่าเป็นจุดอ่อนของ FFP คือการที่กฎพยายามบีบบังคับให้สโมสร มีรายจ่ายตามรายได้ของสโมสร ซึ่งนำแค่เงินจากสปอนเซอร์, ค่าขายของที่ระลึก, เงินสนับสนุนจากการแข่งขันเป็นหลัก ซึ่งเขามองว่า เป็นเรื่องที่ดี และเขาชอบแนวคิดนี้ แต่ในความเป็นจริง มันไม่สอดคล้องกับการทำทีมของฟุตบอลสมัยใหม่ ที่ต้องพึ่งเงินจากเจ้าของทีม และหลายสโมสร ที่ ยูฟ่า พยายามจะลงโทษ ทั้ง เปแอสเช หรือ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ พวกเขามีสภาพการเงิน

ที่ดีมาก เกินกว่าที่ยูฟ่าจะไปลงโทษ ต่อให้ทำผิดกฎที่ ยูฟ่า ตั้งไว้ (นั่นคือแม้จะมีรายจ่ายมากกว่ารายได้ แต่สโมสรก็ไม่เสี่ยงกับการล้มละลาย) … หาก ยูฟ่า จะยืนยันในแนวทางเดิม พวกเขาต้องไปเขียนกฎใหม่ ที่ชัดเจน และครอบคลุมกว่านี้ ขณะที่ แกรี่ เนวิลล์ แบ็คขวาระดับตำนานชาวอังกฤษ มองในมุมต่างว่า เขาไม่เห็นอนาคตของกฎ FFP ซึ่งเป็นสิ่งที่ล้าหลังอย่างมาก และเขามองว่ากฎนี้ จะเข้ามาขัดขวางความสนุกในโลกฟุตบอล “ผมไม่เชื่อมั่นใน FFP … นี่คือกฎที่ล้าหลังไป

30 ปี ควรจะเอาไปใช้กับแบล็คเบิร์นยุค แจ็ค วอล์คเกอร์ มันเป็นความคิดที่ผิดมากนะ ที่คุณบอกว่า สโมสรฟุตบอลห้ามเอาเงินของเจ้าของ มาใช้กับสโมสรของตัวเอง” “เชลซี หรือ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ ทีมพวกนี้คงไม่มีทางเป็นแชมป์ ถ้าพวกเขาไม่มีเงินจากเจ้าของสโมสร เพราะโดน FFP มาสกัดกั้นไว้ นี่ไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้อง สโมสรฟุตบอลต้องการการลงทุน จากเจ้าของทีมที่ร่ำรวย ฟุตบอลเป็นแบบนี้มาตลอด” “เจ้าของสโมสรควรมีสิทธิ์อย่างเต็มที่ ในการลงทุนกับสโมสรของตัวเอง

พวกเขาควรมีสิทธิ์สร้างสโมสรที่พวกเขาอยากจะทำ ถ้าแมนฯ ซิตี้จะใช้เงินปีละ 200 ล้านปอนด์ต่อจากนี้ สัก 4 ปี พวกเขาก็มีสิทธิ์ที่จะทำ ถ้าสโมสรขาดทุน สุดท้ายเจ้าของจะหาวิธีที่จะเข้ามาช่วย ให้สโมสรดำเนินกิจการต่อไปได้ แต่พวกเขาไม่ควรจะถูกห้ามไม่ให้ทำ กับสโมสรที่เป็นของเขา” “ผมไม่เคยกังวลเรื่องนี้ คุณไปดูสโมสรระดับล่างสิ พวกเขาจะเติบโตได้อย่างไร ถ้าไม่มีเจ้าของรวยๆ มาสนับสนุน ถ้าคุณเป็นมหาเศรษฐี แล้วจะลงทุนกับสโมสรสักพันล้าน

ผมไม่เห็นว่าจะเป็นเรื่องผิด เรื่องที่ผิดคือ ถ้าคุณมีเงินแค่ 100 ปอนด์ แล้วเอามาใช้กับฟุตบอล 50 ปอนด์ นั่นคือผิด” “สุดท้ายแล้ว มันไม่เกี่ยวกับว่า การนำเงินของเจ้าของมาใช้กับทีมฟุตบอล เป็นเรื่องที่ผิด แต่คุณต้องดูให้แน่ใจตั้งแต่แรกว่า คนที่จะมาเป็นเจ้าของทีม พร้อมหรือเปล่าที่จะมาทำสโมสร … ผมคิดว่า FFP

ต้องเปลี่ยนแนวคิดใหม่” ท้ายที่สุดแล้ว เราคงต้องติดตามว่า ยูฟ่าจะทำอย่างไรกับกฎ FFP ต่อไป แต่สิ่งหนึ่งที่เราบอกได้ คือในปัจจุบัน หากยูฟ่าคิดจะใช้กฎ FFP เป็นเพียงเครื่องมือแสดงอำนาจขององค์กร และต้องการฝืนทำอย่างนี้ต่อไป FFP จะเป็นได้เพียงตัวตลกของวงการฟุตบอลยุโรป ที่มีไว้สร้างความตลกขบขัน ให้กับสโมสรฟุตบอลยักษ์ใหญ่เท่านั้น

 

อ่านข่าวอื่นๆที่ >>> https://www.ufabetwins.com/
หน้าแรก >>> บ้านผลบอล