UFABETWINS เปรี้ยงเดียวหาย : La Papinade ลูกวอลเล่ย์จังหวะเดียวที่แม่นยำที่สุดของ “ฌอง ปิแอร์ ปาแปง”
UFABETWINS ลูกวอลเลย์ ถือเป็นหนึ่งในรูปแบบการทำประตูที่น่าตื่นตาที่สุด เพราะมันเป็นการผสมผสานของจังหวะที่เหมาะสมระหว่างคนจ่ายและคนยิง จนทำให้เกิดสุดยอดประตูขึ้นมาหลายต่อหลายครั้ง
และถ้าหากพูดถึงการทำประตูในลักษณะนี้ คงจะไม่มีใครเก่งกาจไปกว่า ฌอง ปิแอร์ ปาแปง อดีตกองหน้าทีมชาติฝรั่งเศส ที่กลายเป็นเครื่องหมายการค้าของเขาในชื่อ “La Papinade” อะไรที่ทำให้ท่าไม้ตายของเขาโดดเด่นกว่าคนอื่น และมันทรงประสิทธิภาพขนาดไหน ร่วมหาคำตอบไปพร้อมกับ Main Stand ลูกไม้หล่นเกินต้น การยิงประตูเป็นหน้าที่สำคัญของกองหน้า และดูเหมือนว่า ฌอง ปิแอร์ ปาแปง จะเกิดมาเพื่อสิ่งนั้น เขาลืมตาดูโลก ที่เมือง Boulogne-sur-Mer
เมืองริมชายฝั่งทางตอนเหนือของฝรั่งเศส ในเดือนพฤศจิกายน 1963 ในครอบครัวของ กีย์ ปาแปง อดีตนักฟุตบอลในลีกฝรั่งเศส “ผมคิดว่าการเป็นดาวยิง มันเป็นสิ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิดเป็นรายบุคลล มันอยู่ในสายเลือด” ปาแปง กล่าวกับ Goal การมีพ่อเป็นนักฟุตบอลทำให้ความชื่นชอบในเกมลูกหนังของ ปาแปง ติดตัวมาตั้งแต่เด็ก ปาแปง คลั่งไคล้และหลงใหลในกีฬาชนิดนี้มาก จนถึงขั้นประกาศว่าเขาจะเป็นนักฟุตบอลอาชีพมาตั้งแต่วัยกระเตาะ
“คำถามที่ว่าผมจะโตขึ้นมาเป็นใคร ไม่เคยอยู่ในความคิดผมเลย เพราะพ่อของผมก็เล่นฟุตบอล และความรักกีฬาก็อยู่ในสายเลือด” ปาแปงกล่าวต่อ เขาไม่ได้แค่คุยโว ปาแปง แสดงให้เห็นในสนาม เขาทำผลงานได้อย่างโดดเด่นในระดับเยาวชน เอาชนะคู่แข่งที่แก่กว่าได้อย่างไม่ยากเย็น ยิงประตูถล่มทลาย จนได้รับคัดเลือกให้เข้าไปอยู่ในศูนย์ฝึกฟุตบอลแห่งชาติ แกลร์กฟงแตน ของสหพันธ์ฟุตบอลฝรั่งเศส และมันก็กลายเป็นจุดเริ่มต้นในเส้นทางอาชีพของเขา
แม้ว่าในช่วงนั้นเขาจะมีปัญหาครอบครัว หลังพ่อกับแม่หย่าร้าง จนต้องไปอาศัยอยู่กับยาย แต่เขาก็ไม่ปล่อยให้มันมากระทบกับฟุตบอลที่เขารัก ปาแปง มุ่งมั่นฝึกซ้อมอย่างหนัก จนตอนอายุ 15 ปี เขาก็มีสโมสรอ้าแขนรับ วาลองเซียนส์ คือสโมสรนั้น ปาแปงไปอยู่กับพวกเขาหนึ่งฤดูกาล และได้ย้ายไปเล่นให้กับ INF Vichy อยู่ 3 ซีซั่น ก่อนจะกลับมาเล่นให้กับ วาลองเซียนส์ อีกครั้งในปี 1984 และมันจะกลายเป็นเวทีแจ้งเกิดอย่างเต็มตัวของเด็กหนุ่มในวัย 21 ปี เมื่อปาแปง
ประเดิมซีซั่นแรกในฐานะนักเตะอาชีพได้อย่างเปรี้ยงปร้าง ด้วยการซัดให้ วาลองเซียนส์ ไปถึง 15 ประตูจาก 33 นัดในดิวิชั่น 2 ของฝรั่งเศส ช่วยให้ทีมจบในอันดับ 6 ของตาราง นอกจากนั้นในปีเดียวกัน ปาแปง ยังถูกเรียกติดทีมเยาวชนฝรั่งเศสในศึกตูลองคัพ (ทัวร์นาเมนต์ฟุตบอลเยาวชนทีมชาติที่มีตั้งแต่รุ่นไม่เกิน 17-23 ปี) ก่อนจะช่วยให้ทัพตราไก่คว้าแชมป์ พร้อมคว้ารางวัลดาวซัลโวของรายการ ผลงานดังกล่าวเริ่มทำให้ วาล็องเซียนส์ เล็กเกินไปสำหรับเขา เมื่อ ปาแปง
เริ่มกลายเป็นที่รู้จัก เขาได้รับความสนใจจากหลายทีมในยุโรป แต่สุดท้ายก็เป็น คลับ บรูช ทีมดังในลีกเบลเยียม ที่ได้ลายเซ็นเขาไปครอบครอง และมันก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้โลกได้รู้จักเขา จากดิวิชั่น 2 สู่ตำนาน ปาแปง เริ่มต้นชีวิตในต่างแดนกับ คลับ บรูช ในฤดูกาล 1985-1986 ก่อนจะพิสูจน์ให้เห็นถึงความยอดเยี่ยม ด้วยการยิงไปถึง 20 ประตูจาก 31 นัด พร้อมพา คลับ บรูช คว้ารองแชมป์ของลีก โดยเป็นรอง อันเดอร์เลชท์ เพียงแค่ประตูได้เสีย ในขณะที่ฟุตบอลถ้วย
กองหน้าชาวฝรั่งเศส ก็ไม่ได้ลดดีกรีความโหด ไม่ว่าจะเป็นการยิง 7 ประตูจาก 8 นัดพา คลับ บรูช คว้าแชมป์เบลเยียมคัพ หรือ 5 ประตูจาก 4 นัดในถ้วยยูฟ่าคัพ ที่แสดงให้เห็นความเป็นยอดดาวยิงของเขา ผลงานอันเอกอุ ทำให้ชื่อเสียงเขาดังกลับมาถึงบ้านเกิด และทำให้ อองรี มิเชล กุนซือทีมชาติฝรั่งเศสในตอนนั้น ตัดสินใจเลือกเขาเป็น 22 คนสุดท้ายของทัพตราไก่ไปเล่นในฟุตบอลโลก 1986 รอบสุดท้ายที่เม็กซิโก “บรูช เป็นจุดเริ่มทุกอย่างที่แท้จริงของผม มันเป็นสถานที่
ที่พิเศษในใจของผมเสมอ ในฐานะจุดเริ่มต้นที่ทำให้ผมได้เข้าไปสู่ทีมชาติ” ปาแปง ย้อนความหลัง อย่างไรก็ดี เขากลายเป็นเป้าของการโจมตีสำหรับการเรียกตัวครั้งนี้ เนื่องจาก ปาแปง ยังไม่เคยสัมผัสกับเกมลีกสูงสุดของฝรั่งเศส แม้แต่นัดเดียว และมีประสบการณ์ในทีมชาติน้อยมาก แถมยังเป็นนักเตะที่อายุน้อยที่สุดของทีมชุดนี้ ทว่า เขาไม่ปล่อยให้มันบั่นทอนจิตใจ เมื่อ ปาแปง สามารถปิดปากคำวิจารณ์ได้ตั้งแต่นัดแรกในฟุตบอลโลก หลังซัดประตูชัยในเกมเปิดสนาม
กับ แคนาดา ก่อนจะมาบวกเพิ่มอีกหนึ่งประตูในเกมนัดชิงที่ 3 กับ เบลเยียม ทัวร์นาเมนต์ที่ เม็กซิโก ทำให้ฝีเท้าของ ปาแปง ก้าวไปอีกระดับ ซึ่งทำให้เขาได้รับความสนใจจากหลายทีมในยุโรปโดยเฉพาะสโมสรในบ้านเกิด แต่เป็น โอลิมปิก มาร์กเซย ที่ได้ตัวเขาไปร่วมทีมสำเร็จ และที่สโมสรแห่งนั้น ได้ทำให้เขากลายเป็นนักเตะที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์ของทีม เมื่อ ปาแปง ทำผลงานได้อย่างสุดยอดในถิ่น สตาด เวโลโดรม และทำให้ โอลิมปิก มาร์กเซย กลายเป็นทีมที่น่าเกรงขาม
ทีมหนึ่งของยุโรป เขายิงประตูเป็นว่าเล่นให้กับ โอแอ็ม พาทีมคว้าแชมป์ดิวิชั่น 1 ฝรั่งเศส 4 สมัยติดต่อกันในช่วงปี 1988-1992 พร้อมได้รับตำแหน่งดาวซัลโวของลีก 5 สมัยติด และยิงไปทั้งสิ้น 134 ประตูจาก 154 นัดในลีกสูงสุด หรือเฉลี่ย 22 ประตูต่อฤดูกาล เขายังพาทีมคว้าแชมป์ เฟรนช์คัพ ปี 1989 ด้วยการทำแฮตทริคใส่โมนาโก ในนัดชิงชนะเลิศ และเป็นหนึ่งในสมาชิกของ มาร์กเซย ที่ได้ลงเล่นในนัดชิงชนะเลิศยูโรเปียนคัพ (ยูฟ่า แชมเปียนส์ลีก) กับ เรดสตาร์ เบลเกรด
ในปี 1991 แม้ว่าสุดท้าย โอแอ็ม จะทำได้เพียงแค่รองแชมป์ หลังพ่ายจุดโทษในนัดชิงชนะเลิศ แต่ผลงานอันเยี่ยมยอด ก็ยังดีพอที่ทำให้ ปาแปง คว้าบัลลงดอร์ หรือรางวัลนักเตะยอดเยี่ยมของโลก ประจำปี 1991 มานอนกอด อย่างไรก็ดี นอกจากชื่อเสียงและความสำเร็จที่เขาทำได้ สิ่งที่ทำให้ ปาแปง กลายเป็นที่รู้จักในกว้างขวาง คือลูกยิงอันเป็นเอกลักษณ์ของเขา ปฏิเสธไม่ได้ว่า ฌอง ปิแอร์ ปาแปง คือหนึ่งในยอดดาวยิงของยุค ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1980s ถึงต้นทศวรรษ
ที่ 1990s เขามีสัญชาติญาณดาวยิงที่เพียบพร้อม ทั้งความเร็ว ความแข็งแกร่ง และความเฉียบคมหน้าปากประตู “ฌอง ปิแอร์ ปาแปง คือหนึ่งในกองหน้าที่มีพรสวรรค์ที่สุดเท่าที่ผมเคยเห็นมา” ฟรานซ์ เบ็คเคนบาวเออร์ ตำนานทีมชาติเยอรมันเคยกล่าวเอาไว้ ทำให้แม้ว่า ปาแปง จะมีส่วนสูงเพียงแค่ 176 เซนติเมตร ซึ่งถือว่าไม่ได้สูงมากในตำแหน่งกองหน้า แต่เขาก็สามารถส่งบอลเข้าไปกองที่ก้นตข่ายคู่แข่งในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการยิงเต็มข้อในกรอบ
เข้าชาร์จ หรือพุ่งโหม่ง อย่างไรก็ดี ในหลากหลายยุทธวิธีของ ปาแปง คงจะไม่มีวิธีไหนที่จะโดดเด่นไปกว่าลูกวอลเลย์ของเขา เมื่อแข้งชาวฝรั่งเศส ถือเป็นหนึ่งในนักเตะที่เล่นลูกในลักษณะนี้ได้เก่งกาจที่สุด โดยเฉพาะลูกวอลเลย์จังหวะเดียวของเขาที่เป็นที่รู้จักในชื่อ La Papinade เป็นลูกวอลเลย์ที่มีความพิเศษ ทั้งท่ายืนที่ไม่สมดุล และส่วนใหญ่เกิดขึ้นในมุมที่ไม่น่าเป็นไปได้ แต่มันกลับรุนแรง ทรงพลัง และมีความแม่นยำ ที่กว่าจะรู้อีกทีบอลก็ “ซวบ” ตุงตาข่ายไปแล้ว
Alain Pécheral นักข่าวจาก La Provence คือคนแรกที่ตั้งชื่อนี้ หลังเห็น ปาแปง วอลเลย์สุดสวยในเกมพบ Chamois Niortais ในเกมดิวิชั่น 1 ของฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 1988 “Papinade มันเป็นคำที่อธิบายไม่ได้ มันไม่ได้ตั้งโปรแกรม และสอนไม่ได้ ทั้งตัวเขา, ประสาทสัมผัส ตลอดจนความสัมพันธ์กับลูกบอล ที่ทำให้เขาสามารถคำนวณแรง, วิถี, ความเร็ว, น้ำหนักของวัตถุนั้น และแปลงมันเพื่อให้ได้มุมการยิงประตูที่พอดีเป๊ะๆ” Pécheral กล่าว อันที่จริง นี่ไม่ใช่ครั้งแรก
ที่เขาทำได้ เพราะปาแปง เคยทำมาก่อน ในเกมที่ โอลิมปิก มาร์กเซย พบกับ ราซิง คลับ เดอ ฟรองซ์ ในเดือนธันวาคม 1986 ในเกมนั้น ฌอง หลุยส์ ซานอน เปิดบอลไปยังมุมอับที่ปาแปงยืนอยู่ แต่เขาก็ยังวอลเลย์ จังหวะเดียวผ่านมือผู้รักษาประตูเข้าไป ทำให้หลังจากนั้น La Papinade กลายเป็นหนึ่งในท่าไม้ตายของเขา ที่ทำให้เหล่าเพื่อนร่วมทีมทราบดีว่า หากจะเปิดบอลให้ ปาแปง ลูกโด่งแบบย้อย ๆ จะช่วยขับประสิทธิภาพในการยิงประตูของเขาออกมามากที่สุด
ว่าแต่อะไรคือเคล็ดลับในการยิงประตูลักษณะนี้ ซ้อม ซ้อม ซ้อม และซ้อม นอกจากลักษณะการทำประตูที่ผาดโผนแล้ว อีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้ La Papinade มีชื่อเสียงโด่งดัง คือการที่ ปาแปง ทำประตูในลักษณะนี้ได้เป็นประจำ แถมมักเกิดขึ้นในเกมสำคัญ ไม่ว่าจะในสีเสื้อของสโมสรหรือในนามทีมชาติ ทั้งกับ บาเยิร์น มิวนิค ที่เขาย้ายไปอยู่ในช่วงปี 1994-1996 ด้วยการตีลังกาวอลเลย์ในกรอบเขตโทษในเกมพบในเกมพบกับ เออร์ดิงเกิน จนได้รับเลือกให้เป็นประตูยอดเยี่ยมแห่งปี
คลิ๊กเลย >>> UFABETWINS
อ่านข่าวเพิ่ม >>> บ้านผลบอล